ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลนามะเขือ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก
ความหมายของแหล่งเรียนรู้
"แหล่งเรียนรู้"
หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์
ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้
แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
"แหล่งเรียนรู้" หมายถึง "แหล่ง" หรือ "ที่รวม" ซึ่งอาจเป็นสภาพ สถานที่ หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอน ที่มีรูปแบบแตกต่างจากกระบวนการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้สอน หรือศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาเรียนยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของผู้เรียน การประเมินและการวัดผลการเรียนมีลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวกันกับการประเมินผลในชั้นหรือห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ตามมาตรา 25 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ )
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์
วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
1. เป็นแหล่งการศึกษาตลอดชีวิตที่ประชาชนสามารถหาความรู้ต่างๆได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
2 .เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและสังคม
มีแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัย
3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญของบุคคลแห่งการเรียนรู้
ในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หอศิลป์ สวนสัตว์
สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา
สถานประกอบการ วัด ครอบครัว ชุมชน องค์การภาครัฐและภาคเอกชน แหล่งข้อมูล
ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้
ใน
ชุมชน/กศน.ตำบลนามะเขือ
1. องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ
1. องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท : แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ ตั้งอยู่เลขที่ 83 หมู่ที่ 6
บ้านหนองไผ่ ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครพนม ระยะทางห่างจากอำเภอปลาปาก ประมาณ 20
กิโลเมตร
และระยะทางห่างจากจังหวัดนครพนม
ประมาณ 31 กิโลเมตร
3. ประวัติความเป็นมา
องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ
เป็นหนึ่งในแปดตำบลของอำเภอปลาปาก มีพื้นที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และการตรวจสอบแนวเขตพื้นที่ตำบลนามะเขือ
ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครพนม
เมื่อเดือนเมษายน 2558
มีพื้นที่ทั้งหมด 51.97 ตารางกิโลเมตร
มีหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบล
เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่
14 ธันวาคม 2542
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล
และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552
โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ปัจจุบัน
ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 มีองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสิ้น
5,335 แห่ง
รูปแบบองค์การ
องค์การบริหารส่วนตำบล
ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
1.
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน
ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
กรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหกคน
และในกรณีมีเพียงสองหมู่บ้านให้มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละสามคน
2.
องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง|การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร
อบต. (ม.58) ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
อำนาจหน้าที่ของ อบต.
อบต.
มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537
และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ
รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68
ดังนี้
1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
2. ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
12. การท่องเที่ยว
13. การผังเมือง
อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น
พ.ศ. 2542 กำหนดให้
อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ
เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
5. การสาธารณูปการ
6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9. การจัดการศึกษา
10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14. การส่งเสริมกีฬา
15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย
โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25. การผังเมือง
26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28. การควบคุมอาคาร
29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30. การรักษาความสงบเรียบร้อย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
31. กิจอื่นใด
ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โครงสร้างองค์กรของ อบต.
อบต.
มีสภาตำบลอยู่ในระดับสูงสุด เป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลกรรมการบริหาร
ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล
และ มีพนักงานประจำที่เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ทำงานประจำวันโดยมีปลัดและรองปลัด
อบต. เป็นหัวหน้างานบริหาร ภายในองค์กรมีการแบ่งออกเป็นหน่วยงานต่างๆ
ได้เท่าที่จำเป็นตามภาระหน้าที่ของ
อบต.แต่ละแห่งเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่ เช่น
·
สำนักงานปลัด
·
ส่วนการคลัง
·
ส่วนสาธารณสุข
·
ส่วนการศึกษา
·
ส่วนการโยธา
5. ผู้รับผิดชอบ : นางมงคล แดงดา โทรศัพท์
เลขที่ 83 หมู่ที่ 6
บ้านหนองไผ่ ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ
2. วัดจันทิยาวาส
1. วัดจันทิยาวาส
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
วัดจันทิยาวาส ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่ 6
บ้านหนองไผ่ ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครพนม ระยะทางห่างจากอำเภอปลาปาก ประมาณ 20
กิโลเมตร
และระยะทางห่างจากจังหวัดนครพนม
ประมาณ 31 กิโลเมตร
3. ประวัติความเป็นมา
วัดจันทิยาวาส เป็นวัดที่มีความสำคัญ
คือ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สันติสุข เป็นศูนย์รวมของตำบลและ
เป็นที่ควรแก่การศึกษาเรียนรู้
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
5. ผู้รับผิดชอบ : โทรศัพท์ -
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
วัดจันทิยาวาส
3. วัดศรีบัวบาน
1. วัดศรีบัวบาน
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
วัดศรีบัวบาน ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่ 9 บ้านนางิ้ว
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
จังหวัดนครพนม
3. ประวัติความเป็นมา
วัดศรีบัวบาน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
5. ผู้รับผิดชอบ : โทรศัพท์
ที่อยู่ ...........หมู่ 9 บ้านนางิ้ว ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
วัดศรีบัวบาน
4. วัดจอมศรี
1. วัดจอมศรี
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
วัดจอมศรี ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่
2 บ้านนามะเขือ
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
จังหวัดนครพนม
3. ประวัติความเป็นมา
วัดจอมศรี เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
5. ผู้รับผิดชอบ : โทรศัพท์
ที่อยู่ ...........หมู่ 2 บ้านนามะเขือ ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
วัดจอมศรี
5. โรงเรียนโพนสวางนางิ้ววิทยา
1. โรงเรียนโพนสวางนางิ้ววิทยา
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
โรงเรียนโพนสวางนางิ้ววิทยา ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่ 9 บ้านนางิ้ว
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
๓
.ภาพแหล่งเรียนรู้
6. โรงเรียนบ้านหนองแสง
1. โรงเรียนบ้านหนองแสง
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
เลขที่ 26 หมู่ 5
ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
๓. ภาพแหล่งเรียนรู้
7. โรงเรียนบ้านนามะเขือ
1. โรงเรียนบ้านนามะเขือ
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่ 2 บ้านนามะเขือ
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
๓. ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนบ้านนามะเขือ
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นพื้นราบ
มีระยะทางห่างจากนครพนมโดยทางรถยนต์ประมาณ
30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 18
ไร่ 2 งาน
73 ตารางวา เขตบริการของโรงเรียนบ้านนามะเขือ
ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน คือ บ้านนามะเขือหมู่ 1 (บ้านใหม่) , บ้านนามะเขือหมู่ 2 , บ้านนามะเขือหมู่ 3 (แหลมทอง) , บ้านนามะเขือหมู่ 4
(หนองตีนตั่ง) และมีอาณาเขตติดต่อกับเขตตำบลกุตาไก้ และตำบลคำเตย อำเภอเมือง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้านแสนสำราญ ต.นามะเขือ
อ.ปลาปาก จ.นครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านดอนดู่
ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ หมู่บ้านดอนแดง ต.คำเตย อ.เมือง
จ.นครพนม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่บ้านหนองแสง ต.นามะเขือ
อ.ปลาปาก จ.นครพนม
โรงเรียนบ้านนามะเขือเปิดทำการสอนระดับประถมศึกษา
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2479 โดยนายอำเภอเมืองนครพนม
ด้วยความเห็นชอบของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดจอมศรี
เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน
โดยมีนายเขาทอง สุวรรณเจริญ
เป็นครูใหญ่คนแรก มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 55 คน
เป็นชาย
30 คน หญิง 25 คน
ในปี พ.ศ. 2481 นายโจม พลชนะ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายเขาทอง
สุวรรณเจริญ
ในปี พ.ศ. 2485 นายเพ็ง หอมสมโคตร ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายโจม
พลชนะ
ในปี พ.ศ. 2488 นายสุกรรณ
บุพศิริ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายเพ็ง หอมสมโคตร
ในปี พ.ศ. 2497 นายแสวง
ศรีวรมย์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายสุกรรณ บุพศิริ
ในปี พ.ศ.
2500 นายวิจิตร วงษ์อดุลย์ฤทธิ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทนนายแสวง ศรีวรมย์
ในปี พ.ศ.
2503 นายอุทิน มังคละคีรี ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายวิจิตร วงษ์อดุลย์ฤทธิ์
ในปี พ.ศ.
2510 นายชาตรี อ่อนอั้วะ ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายอุทิน มังคละคีรี
ในปี พ.ศ.
2514 โรงเรียนได้ย้ายจากศาลาการเปรียญวัดจอมศรีมาตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งมี
นายชาตรี
อ่อนอั้วะ เป็นครูใหญ่บนเนื้อที่ 15 ไร่ และได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ฉ
จำนวน 3 ห้องเรียน
ในปี พ.ศ. 2516
โรงเรียนได้งบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ
จาก 3 ห้องเรียน เป็น 4 ห้องเรียน
ในปี พ.ศ. 2523
โรงเรียนได้ขยายการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก 4 ปี เป็น 6 ปี คือ ป.1 – 6
ในปี พ.ศ. 2525
โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนถาวรหลังที่ 2 แบบ นพ.002 จำนวน 3
ห้องเรียนใต้ถุนสูง
ในปี พ.ศ. 2526 นายบุญทวี บัวสาย ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน นายชาตรี อ่อนอั้วะ
ซึ่งเกษียณอายุราชการ
ในปี พ.ศ. 2528
โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา 1 ปี
ในปี พ.ศ. 2529
โรงเรียนรับงบประมาณสร้างอาคารเรียนถาวรหลังที่ 3 แบบ สปช. 105/26 จำนวน 3
ห้องเรียน
ในปี พ.ศ. 2530
โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา 2 ปี ในเดือนมีนาคม พ.ศ.
2530 โรงเรียนได้ยกฐานะผู้บริหาร จากตำแหน่งครูใหญ่เป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ซึ่งมีนายทวีฤทธิ์บัวสาย เป็นผู้บริหารสถานศึกษา และได้มี นางดอกไม้ แดงดา
พร้อมครอบครัว ได้มอบที่ดินให้กับทางโรงเรียนจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 29 ตารางวา
ในปี พ.ศ. 2532
โรงเรียนได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่างของอาคาร แบบ สปช.105/26 จาก 3
ห้องเรียน เป็น 6 ห้องเรียน
ในปี พ.ศ. 2540
โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เข้าโครงการปฏิรูปการศึกษา
ซึ่งโครงการนี้ทำให้โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการ 2 ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางภาษา
(Sound lab) และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2544 นายวันคำ บัวสาย ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ แทนนายเอก
บัวสาย ซึ่งขอ
ลดตำแหน่งจากสายบริหาร เป็นสายปฏิบัติการ
เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ
ในปี พ.ศ.
2546 นางพิกุล คำเพชรดี
ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน นายวันคำ บัวสาย
ในปี พ.ศ.
2546 นางพิกุล คำเพชรดี
ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน นายวันคำ บัวสาย
ในปี พ.ศ.
2547 นายสำราญ วีรพล
ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทนนางพิกุล คำเพชรดี
ในปี พ.ศ.
2548 นายทองคำ อรรคสังข์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทน
นายสำราญ วีรพล
จนถึงปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนามะเขือ
การจัดการเรียนการสอน ปัจจุบันโรงเรียนบ้านนามะเขือเปิดทำการจัดการเรียนการสอนในระดับก่อนประถมศึกษาคือชั้นอนุบาลปีที่
1 - 2 จำนวน 2 ห้องเรียน และในระดับประถมศึกษาปี่ที่ 1 - 6 จำนวน 6 ห้องเรียน
การคมนาคม
เส้นทางคมนาคมสามารถติดต่อกัน คือ
ทางบก สภาพถนนลาดยางทางหลวงชนบท และถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน
ระหว่างหมู่บ้าน และถนนลูกรังบางแห่ง
ระยะทาง โรงเรียน
- เครือข่าย 0 กิโลเมตร(โรงเรียนเป็นที่ทำการเครือข่าย)
ระยะทาง โรงเรียน
- อำเภอปลาปาก 20
กิโลเมตร
ระยะทาง โรงเรียน
- สพป.นครพนม เขต 1 30 กิโลเมตร
กำเนิดโรงเรียน
วันที่ 15
สิงหาคม 2479
สีประจำโรงเรียน
เหลือง – เขียว
สีเหลือง หมายถึง
ความเจริญรุ่งเรือง
สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความรักความสามัคคี
มีคุณธรรม
ปรัชญาของโรงเรียน
“ความรู้ดี มีคุณธรรม น้อมนำแนวคิด
ชีวิตพอเพียง”
คติพจน์
ปญฺญา วุฑฺ ฒิ
ธมฺ
(การมีความรู้คู่คุณธรรม เป็นสิ่งที่ก่อเกิดความเจริญงอกงาม)
เอกลักษณ์โรงเรียน
“
โรงเรียนส่งเสริมวิถีชีวิตพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
อัตลักษณ์โรงเรียน
“ผู้เรียนมีคุณธรรม
นำความรู้ สู่เศรษฐกิจพอเพียง”
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านนามะเขือ
ที่
|
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
วัน เดือน
ปี
ที่มาอยู่
|
วุฒิการศึกษา
|
หมายเหตุ
|
1
|
นายเขาทอง สุวรรณเจริญ
|
ครูใหญ่
|
2479 -2481
|
|
|
2
|
นายโจม พลชนะ
|
ครูใหญ่
|
2481 – 2485
|
|
|
3
|
นายเพ็ง หอมสมโคตร
|
ครูใหญ่
|
2485 – 2488
|
|
|
4
|
นายสุกรรณ บุพศิริ
|
ครูใหญ่
|
2488 – 2497
|
|
|
5
|
นายแสวง ศรีวรมย์
|
ครูใหญ่
|
2497 – 2500
|
|
|
6
|
นายวิจิตร วงษ์อดุลย์ฤทธิ์
|
ครูใหญ่
|
2500 - 2503
|
|
|
7
|
นายอุทิน มังคละคีรี
|
ครูใหญ่
|
2503 - 2510
|
|
|
8
|
นายชาตรี อ่อนอั้วะ
|
ครูใหญ่
|
2510 - 2526
|
พ.
|
เกษียณ
|
9
|
นายบุญทวี
(เอก) บัวสาย
|
อาจารย์ใหญ่
|
2526 - 2544
|
กศ.บ.
|
ลดตำแหน่ง
|
10
|
นายวันคำ บัวสาย
|
อาจารย์ใหญ่
|
2544 - 2546
|
ศษ.ม.
|
ย้าย
|
11
|
นางพิกุล คำเพชรดี
|
อาจารย์ใหญ่
|
2546 - 2547
|
กศ.ม.
|
ย้าย
|
12
|
นายสำราญ วีระพล
|
อาจารย์ใหญ่
|
2547 - 2548
|
ศษ.บ.
|
ย้าย
|
13
|
นายทองคำ อรรคสังข์
|
ผู้อำนวยการ
|
2548 -
ปัจจุบัน
|
ศษ.ม.
|
|
1.2 ข้อมูลด้านการศึกษา
(1) ระดับการศึกษาแบ่งเป็น 2
ระดับ คือ
- ระดับก่อนประถมศึกษา ,
- ระดับประถมศึกษา
(2) นักเรียน
จำนวน 183 คน แยกเป็น
- ก่อนประถมศึกษา 35
คน
- ประถมศึกษา 148 คน
(3) บุคลากรในสถานศึกษา (ข้าราชการครู/ลูกจ้างชั่วคราว) จำนวน 14 คน
จำแนกตามตำแหน่ง
- ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน
1 คน - รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน - คน
-
ข้าราชการครูสายการสอน จำนวน 8 คน
-
นักการภารโรง จำนวน 1
คน
-
ครูอัตราจ้าง จำนวน 3 คน
- เจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 คน
จำแนกตามตำแหน่งวิทยฐานะ
- ชำนาญการพิเศษ (คศ.3) จำนวน 3 คน
- ชำนาญการ (คศ.2) จำนวน 3 คน
- ไม่มีวิทยฐานะ (คศ.1) จำนวน 1 คน
จำแนกตามวุฒิ
- ปริญญาโท จำนวน 2 คน
- ปริญญาตรี จำนวน 9 คน
- ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน
4 คน
ข้อมูลบุคลากรในโรงเรียน
( ข้อมูล ณ
วันที่ 10 มิถุนายน 2556 )
ที่
|
ชื่อ-สกุล
|
วุฒิการศึกษา/วิชาเอก
|
ตำแหน่ง/วิทยฐานะ
|
สอนประจำชั้น
|
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
|
นายทองคำ อรรคสังข์
นางภรสุภา ธนภัทภัคภูมิ
นายประสิทธิ์ชัย อ่อนอั้วะ
นางสาวบุษบา เรือนเป็ง
นายวรายุ บัวชุม
นางจอมศรี อ่อนอั้วะ
นางสาววริพร ทุมเที่ยง
นายสายันต์ ตระแก้วจิตร
นายพิทักษ์ พิลาพิมพ์
นางลำไพ แดงดา
นางกมลชนก ศรีวงศา
นายวัชรพงษ์ ภูบุญลาภ
|
ปริญญาโท / บริหาร ฯ
ปกศ.สูง
ปริญญาตรี
/ บริหารฯ
ปริญญาตรี / ประถมศึกษา
ปริญญาตรี
/ วิทยาศาสตร์ฯ
ปริญญาตรี
/ ประถมศึกษา
ปวส.
คอมธุรกิจ
ปริญญาตรี/
ประถมศึกษา
ปริญญาตรี
ปริญญาโท/บริหารฯ
ปริญญาตรี / ประถมศึกษา
ปวส.
คอมธุรกิจ
|
ผ.อ.ชำนาญการพิเศษ
ครู/ครูชำนาญการ
ครู/ครูชำนาญการพิเศษ
ครูผู้ช่วย
ครู
ครู/ครูชำนาญการพิเศษ
ครูอัตราจ้าง
ครู/ครูชำนาญการ
ครูอัตราจ้าง
ครู/ครูชำนาญการ
ครู/ครูชำนาญการ
ครูอัตราจ้าง
|
อนุบาลปีที่ 1
อนุบาลปีที่ 2
ประถมศึกษาปีที่ 1
ประถมศึกษาปีที่
2
ประถมศึกษาปีที่
3
ประถมศึกษาปีที่
4
ประถมศึกษาปีที่
4
ประถมศึกษาปีที่
5
ประถมศึกษาปีที่
5
ประถมศึกษาปีที่
6
ประถมศึกษาปีที่
6
|
หมายเหตุ ปัจจุบัน นางประภาพรรณ
โคตรพัฒน์ ไปช่วยราชการที่โรงเรียนบ้านดงโชค อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
มีลูกจ้างชั่วคราว จำนวน
2 คน ที่สนับสนุนทางการศึกษา คือ
1. นางสาวรุ่งนิภา โตดี
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการ
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี (รับผิดชอบ 2 โรงเรียน คือ
ร.ร.บ้านหนองแสงกับร.ร.บ้านนามะเขือ) งบประมาณจากสพฐ.
2. นายอดิศักดิ์ โตดี ตำแหน่ง
นักการภารโรง วุฒิการศึกษา
ม.3 งบประมาณจากสพฐ. (เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่
8 ธันวาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน)
จำนวนนักเรียน ( ข้อมูล ณ
วันที่ 10 มิถุนายน 2556 )
ระดับชั้น
|
จำนวนนักเรียน
ปีการศึกษา
2556
|
จำนวน
นักเรียนรวม
|
จำนวน
ห้องเรียน
|
|
ชาย
|
หญิง
|
|||
ชั้นอนุบาลปีที่ 1
|
12
|
12
|
24
|
1
|
ชั้นอนุบาลปีที่ 2
|
6
|
9
|
15
|
1
|
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
|
9
|
9
|
18
|
1
|
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
|
13
|
7
|
20
|
1
|
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
|
13
|
8
|
21
|
1
|
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
|
17
|
17
|
34
|
1
|
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
|
14
|
15
|
29
|
1
|
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
|
7
|
12
|
19
|
1
|
รวมทั้งสิ้น
|
91
|
89
|
180
|
8
|
1.
ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนอื่นๆ
1.1 มีนักเรียนที่มีความบกพร่องเรียนร่วม
1 คน
1.2 มีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนา - คน
1.3 มีนักเรียนปัญญาเลิศ - คน
1.4 มีนักเรียนต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 1 คน
1.5 จำนวนนักเรียนต่อห้อง(เฉลี่ย)
// คน
1.6 อัตราส่วน นักเรียน : ครู = 18 : 1
1.7 จำนวนนักเรียนที่ทำชื่อเสียงให้โรงเรียน 27 คน
2. ข้อมูลเกี่ยวกับอาคารสถานที่
2.1 เนื้อที่ 19 ไร่ 29 ตารางวา
2.2
จำนวนอาคารเรียนถาวร รวม
3 หลัง 8 ห้องเรียน
2.3 จำนวนสนามกีฬา 3 สนาม ได้แก่
สนามฟุตบอล , สนามวอลเล่ย์บอล , สนามตระกร้อ
2.4
จำนวนห้องเรียนทั้งหมด
8 ห้อง
2.5 จำนวนห้องประกอบ
-
ห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง
-
ห้องพักผู้บริหาร / ห้องประชุมเล็ก 1 ห้อง
-
ห้องสมุด
1 ห้อง
-
ห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง
-
ห้องวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง
3. ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ อุปกรณ์
เครื่องอำนวยความสะดวก
3.1
จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งหมด 25 เครื่อง
-
ใช้เพื่อการเรียนการสอน จำนวน
20 เครื่อง
-
ใช้ในงานบริหาร จำนวน 5 เครื่อง
-
เล่น internet ได้ จำนวน 20 เครื่อง
3.2
จำนวนเครื่องเล่น วิดีโอ/ซีดี 2 เครื่อง
3.3 จำนวนโทรทัศน์ 10 เครื่อง
3.4 จำนวนเครื่องฉายโปรเจกเตอร์ ๑
เครื่อง
4. ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาและแหล่งการเรียนรู้
4.1 จำนวนหนังสือในห้องสมุด 1,000 เล่ม
4.2
หนังสือในห้องสมุดสืบค้นด้วยระบบบัตรรายการ
4.3
มีแหล่งข้อมูลที่สืบค้นทาง internet ได้ 20 เครื่อง
คิดสัดส่วนจำนวนนักเรียน
: เครื่อง = 9 : 1
5. แหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
(นอกจากห้องสมุด) และแหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน
แหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
|
สถิติการใช้
จำนวนครั้ง/ปี
|
แหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน
|
สถิติการใช้
จำนวนครั้ง/ปี
|
ชื่อแหล่งการเรียนรู้
|
ชื่อแหล่งการเรียนรู้
|
||
1. ห้องสมุด
2. ห้องคอมพิวเตอร์
3. ห้องปฏิบัติการทางภาษา
4. ห้องวิทยาศาสตร์
5.กิจกรรมร้านสหกรณ์
6.การปลูกผักสวนครัว
7.ประมงโรงเรียน
8.สวนเกษตรพอเพียง
|
100 ครั้ง
100 ครั้ง
50 ครั้ง
50 ครั้ง
150 ครั้ง
50 ครั้ง
30 ครั้ง
50 ครั้ง
|
วัดจอมศรี
วัดโพธิ์คำ
วัดสว่างธรรมราม
พิพิธภัณฑ์สวนเสือตระการ
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจืดหนองคาย
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง
วัดถ้ำขาม
วัดประจำวันในจังหวัดนครพนม
วัดคำประมง
|
5
5
5
1
1
1
1
1
|
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
5. ผู้รับผิดชอบ : โทรศัพท์
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือ
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือ
บ้านโพนสวาง ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก
จังหวัดนครพนม
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่
7 บ้านโพนสวาง ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
3. ประวัติความเป็นมา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวางก่อตั้งเมื่อ
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ก่อสร้างโดยงบประมาณประจำปีของจังหวัดนครพนม
มีรายนามของหัวหน้าสถานีอนามัยบริหารงานตามลำดับดังนี้
๑. นางจารุวรรณ วงค์ศรีชา เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ปี พ.ศ.๒๕๓๙ - พ.ศ. ๒๕๔๕
๒. นายสุทธิพร สุพล
เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ปี
พ.ศ.๒๕๔๖ - พ.ศ.๒๕๔๘
๓. นายสุธรรม เคนนาดี เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ - พ.ศ.
๒๕๕๒
๔. นางรมณีย์ ประทุมทอง เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ปี พ.ศ.๒๕๕๓ – ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๕๕
๕.
นายมุฎฐิฑ์ไกร โพธิน รักษาการ ผอ.รพ.สต. ปี พ.ศ.๒๕๕๖ – ปัจจุบัน
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
-เป็นศูนย์สุขภาพชุมชนในการให้บริการเชิงรุกเน้นการป้องกันโรค
เป็นการดูแลสุขภาพโดยองค์รวม จัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
โดยให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม มุ่งจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ
พื้นที่บริการระดับตำบล
5. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือ : นายมุฎฐิฑ์ไกร โพธิน
โทรศัพท์ -
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
9. ชื่อสถานบริการ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือ
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
สถานที่ตั้ง
-
ตั้งอยู่บ้านนามะเขือ ม.2 ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา
ข้อมูลทั่วไป:ประกอบด้วยประวัติและข้อมูลทั่วไป
ดังนี้
มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2 ไร่ เป็นที่ดินที่ได้รับการบริจาคจากราษฎรนามะเขือ
ในปี พ.ศ.2510 ก่อตั้งเป็นศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน
ลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว 2 ห้อง โดยมีเจ้าหน้าที่ 1 คน
ในปี พ.ศ.2520 ก่อตั้งเป็นสถานีอนามัยนามะเขือ
ลักษณะเป็นตึกชั้นเดียว มี 3 ห้อง โดยมีเจ้าหน้าที่ 2 คน
ในปี พ.ศ.2545 ก่อตั้งเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนนามะเขือ
ลักษณะเป็นตึก มีการต่อเติมชั้นล่าง โดยมีเจ้าหน้าที่ 3 -5 คน
ในปี
พ.ศ.2553 ก่อตั้งเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือจนถึงปัจจุบัน
สืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาล ข้อ 3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการสุขภาพของภาครัฐทุกระดับให้ได้
มาตรฐาน โดยยกระดับสถานีอนามัย เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ
รวมถึงแนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ที่ควรให้ความสำคัญกับระบบบริการระดับปฐมภูมิ
(Primary Care) ตรงกับหลักการ “สร้างนำซ่อม”
โดยการให้บริการเชิงรุกเน้นการป้องกันโรค เป็นการดูแลสุขภาพโดยองค์รวม
จัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
โดยให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม มุ่งจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ พื้นที่บริการระดับตำบลจึงเป็นด่านแรกและพื้นฐานที่สำคัญ
โดยเฉพาะเป็นการให้บริการแก่คนยากจนและประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นประชากรส่วน ใหญ่ของประเทศ
ลักษณะเป็นอาคาร
2
ชั้น มีการจัดแยกเป็นสัดส่วน มีห้องทำแผล ห้องประชุม ห้องนวดแผนไทย
ห้องซักประวัติตรวจร่างกาย ห้องบริการฝากครรภ์ และห้องทำงานเจ้าหน้าที่ ห้องน้ำ 4
ห้อง (รวมห้องน้ำผู้พิการ) ปัจจุบัน นางรมณีย์ ประทุมทอง
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-จนถึงปัจจุบัน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับพื้นที่ดอน
สภาพทั่วไปของครัวเรือน
ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวและมีการตั้งบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่น
|
ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
-เป็นศูนย์สุขภาพชุมชนในการให้บริการเชิงรุกเน้นการป้องกันโรค
เป็นการดูแลสุขภาพโดยองค์รวม จัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
โดยให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม มุ่งจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ
พื้นที่บริการระดับตำบล
5.
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนามะเขือ
: นางรมณีย์
ประทุมทอง โทรศัพท์ -
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
10. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารชุมชน
1. สถานีวิทยุกระจายเสียงฮักแพงเรดิโอ
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่
- หมู่ที่ 5 บ้านหนองแสง
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
3. ประวัติความเป็นมา
เริ่มออกอากาศครั้งแรก ในวันที่
1 มกราคม 2556 โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดน้ำบังเรดิโอ
เป็นสถานีวิทยุสำหรับบริการทางธุรกิจ
ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงฮักแพงเรดิโอ
ออกอากาศโดยคลื่นความถี่ในระบบ FM
104mhz หรือรับฟังทางออนไลด์
ที่ www.t1fm104.com
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารในตำบลทำให้คนในชุมชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
5. ผู้รับผิดชอบ : นายณัฐพงษ์ พิมายนอก ตำแหน่งหัวหน้าสถานีวิทยุ โทรศัพท์ 0985954831
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
11. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข บ้านหนองแสง
1. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
อยู่เย็นเป็นสุข บ้านหนองแสง หมู่ 5 ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่
- หมู่ที่ 5 บ้านหนองแสง
ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
3. ประวัติความเป็นมา
ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บ้านกุตาไก้
ได้อพยพมาอยู่หนองพอก แต่ขาดแคลนน้ำจึงได้ย้ายลงมาอยู่หนอง
แห่งหนึ่ง
ซึ่งบริเวณหนองแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นอยู่มากมายที่ชาวบ้านเรียกว่าต้นแสง
จึงขนานนามว่าหนอง
แสงมาจนถึงทุกวันนี้
ซึ่งมีนายไกร มีมา เป็นผู้ใหญ่ บ้านคนแรก ปัจจุบันมี นายพรมมา
ฝ่ายเพีย เป็นกำนันปกครองหมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,110 ไร่
และมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ
หมู่ที่ 9 บ้าน นางิ้ว ตำบล นามะเขือ
ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ 10 บ้าน กุตาไก้ ตำบล กุตาไก้
ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 10 บ้าน แสนสำราญ ตำบล นามะเขือ
ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ 2 บ้านโพนทา ตำบล กุตาไก้
ลักษณะพื้นที่เป็นที่ดอนสลับที่ลุ่ม
พื้นดินเป็นดินผสม ลูกรัง มีทุ่งนาอยู่ด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือของ
หมู่บ้าน
มีหนองไข่นกอยู่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านการคมนาคมระหว่างหมู่บ้าน ตำบล
อำเภอ และจังหวัด ภายในหมู่บ้านมี ถนนคอนกรีต จำนวน
4 สาย และถนนลูกรัง
จำนวน 2 สาย
หมู่บ้านอยู่ห่างจากตัวอำเภอ
20 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัด 32
กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางจากหมู่บ้านถึงตัวอำเภอ 40 นาที และใช้เวลาเดินทางถึงตัวจังหวัด 1
ชั่วโมง การคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้านตำบล อำเภอและจังหวัดมีความสะดวกตลอดปี บ้านหนองแสงมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 97
ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 321 คน
เป็นชาย 169 คน
และเป็นหญิง 152 คน
ประชาชนทุกครัวเรือนนับถือศาสนาพุทธ มีวัด
1 แห่ง พระภิกษุ จำนวน 2 รูป
ประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญคือเดือนยี่ทำบุญกองข้าวหรือพะทายข้าวเปลือก เดือนห้าประเพณีสงกรานต์ เดือนแปดทำบุญเข้าพรรษา เดือนสิบห่อข้าวประดับดินฯลฯ
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
บ้านหนองแสงเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งในตำบลนามะเขือ
ที่มี นายพรมมา ฝ่ายเพีย เป็นกำนัน
และเป็นผู้นำที่ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและขยายสู่คนในชุมชนจนได้รับรางวัลจากการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในตำบลนามะเขือและด้วยความสามัคคีของคนในชุมชนบ้านหนองแสงจึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานและได้เข้ารับการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข
จนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดนครพนม
และได้รับถ้วยรางวัลจากพระเทพสุดาสยามบรมราชชนนี ในวันที่ 3
มิถุนายน 2558
5. ผู้รับผิดชอบ : - โทรศัพท์ -
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
12. สวนแก้วมังกร
1. สวนแก้วมังกร
นายเด่น พาบัว บ้านแสนสำราญ
หมู่ 10 ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ประเภท :
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
2. สถานที่ตั้ง
บ้านแสนสำราญ หมู่ 10 ตำบลนามะเขือ
อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
3. ประวัติความเป็นมา
-
4. ความสำคัญ / เนื้อหาการเรียนรู้
-เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร
5. ผู้รับผิดชอบ : นายเด่น พาบัว โทรศัพท์ -
6. อื่น ๆ
-
7. ภาพแหล่งเรียนรู้
สวนแก้วมังกร นายเด่น
พาบัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น